สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 พ.ย. 61

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต*ได้แก่ 
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด 
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข.เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1)กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2)เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3)ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO)ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,244 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,770 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.34
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,002 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,141 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,113 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,397 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,116 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,532 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 135 บาท
ข้าวขาว 5สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,113 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,159 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 46 บาท
ข้าวขาว 25สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,754 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,799 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 45 บาท
ข้าวนึ่ง 5สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,113 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,159 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 46 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.7018 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2561/62 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 ว่าจะมีผลผลิต490.698 ล้านตันข้าวสารลดลงจาก 494.314 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 0.73 จากปี 2560/61
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลกกระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2561/62 ณเดือนพฤศจิกายน 2561 ว่าผลผลิต ปี 2561/62 จะมี 490.698ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2560/61ร้อยละ 0.73การใช้ในประเทศจะมี 488.386 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.21 การส่งออก/นำเข้าจะมี 49.217 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.06 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 163.020 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.44
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา กัมพูชา จีน กายานา ปารากวัย ไทย และสหรัฐอเมริกา 
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล ปากีสถานและอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ อียู กินี  อิหร่าน อิรัก เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล สหรัฐอาหรับเอมิเรส และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ กานา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ไทยและสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
                    
เวียดนาม
 
ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัวอยู่ที่ตันละ 415-420 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ภาวะการค้าค่อนข้างซบเซา เนื่องจากในช่วงนี้ผู้ส่งออกไม่ค่อยทำสัญญาขายข้าวเพราะราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่าประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่รายอื่นๆ ประกอบกับอุปทานข้าวในประเทศมีจำกัด หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวฤดูล่าสุดสิ้นสุดลง โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เวียดนามได้ยื่นเสนอราคาในการประมูลเพื่อซื้อข้าวของรัฐบาลอียิปต์จำนวน 500,000 ตัน ซึ่งเวียดนามเสนอข้าวจำนวน 50,000 ตัน
 
ตามรายงานของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (the Ministry of Industry and Trade; MOIT) ระบุว่า เวียดนามกำลังพยายามที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการส่งออกข้าว โดยหันมาเน้นการส่งออกข้าวคุณภาพสูงและข้าวหอมมากขึ้น และลดการส่งออกข้าวขาวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำลง โดยเมื่อปี 2560 สัดส่วนการส่งออกข้าวขาวคุณภาพต่ำมีประมาณร้อยละ 3.88 ของการส่งออกทั้งหมด ข้าวคุณภาพปานกลางมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 8.24 ข้าวหอมมีสัดส่วนร้อยละ 29.2 ข้าวขาวคุณภาพสูงมีสัดส่วนร้อยละ 24.3 ข้าวเหนียวมีสัดส่วนร้อยละ 23.5 และข้าวญี่ปุ่นมีสัดส่วนร้อยละ 4.4
 
กระทรวงเกษตร (The Ministry of Agriculture and Rural Development ;MARD) ได้วางเป้าหมายที่จะให้ในท้องถิ่นเพิ่มการเพาะปลูกข้าวหอมและข้าวขาวคุณภาพสูงมากยิ่งขึ้นในฤดูเพาะปลูกฤดูหนาว (winter-spring crop) ในปีการผลิต 2560/61 อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญระบุว่า แนวโน้มปี 2561 นี้ สัดส่วนข้าวขาวคุณภาพต่ำและคุณภาพปานกลางจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีความต้องการข้าวชนิดนี้จากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียมากขึ้น โดยในปีนี้ผู้ส่งออกได้ทำสัญญาขายข้าวให้อินโดนีเซียประมาณ 700,000 ตัน ขณะที่ฟิลิปปินส์มีประมาณ 130,000 ตัน และมีแผนที่จะส่งออกข้าวตามสัญญาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลอีกประมาณ 400,000 ตัน
  จากสัญญาณของความต้องการข้าวขาวคุณภาพต่ำดังกล่าว ส่งผลให้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีความต้องการปลูกข้าวขาวสายพันธุ์ IR 50404 มากขึ้น เพราะข้าวชนิดนี้สามารถนำไปผลิตเป็นข้าวขาวคุณภาพต่ำเพื่อส่งให้ทั้งสองตลาดได้

ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
                    อิหร่าน 
                    สำนักงานศุลกากรอิหร่าน (the Islamic Republic of Iran Customs Administration) รายงานว่า ในช่วง 7 เดือนแรก (21 มีนาคม – 22 ตุลาคม) ของปีงบประมาณปัจจุบัน (21 มีนาคม 2561 – 20  มีนาคม 2562) อิหร่านนำเข้าข้าวแล้วประมาณ 958,000 ตัน มูลค่า 985.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 12.54 และร้อยละ 4.21
                    รายงานระบุว่า ประชากรอิหร่านมีความต้องการบริโภคข้าวปีละประมาณ 3.2 ล้านตัน ขณะที่สามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 2.2 ล้านตัน ดังนั้นในแต่ละปีจึงมีความต้องการนำเข้าข้าวประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศอินเดีย ปากีสถาน และไทย โดยในช่วงที่ผ่านมาอินเดียถือเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวไปยังอิหร่านมากที่สุด เนื่องจากทั้งสองประเทศมีข้อตกลงการค้าแบบต่างตอบแทน (barter system) ซึ่งอิหร่านต้องการนำเข้าข้าวจากอินเดีย ขณะที่อินเดียนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


ผลผลิตข้าวโลก และบัญชีสมดุลข้าวโลก

กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.37 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.65 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.07
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 317.20 ดอลลาร์สหรัฐ (10,373 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 318.20 ดอลลาร์สหรัฐ (10,416 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 43 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2561/62 ว่ามี 1,132.36 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,085.58 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 4.31 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ไนจีเรีย เกาหลีใต้ และอิหร่าน   มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 161.41 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 151.18 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 6.77 โดยอาร์เจนตินา ยูเครน เซอร์เบีย ปารากวัย และเม็กซิโก ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย จีน ซาอุดิอาระเบีย อาร์เจนตินา และมาเลเซีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 362.40 เซนต์ (4,727 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 368.32 เซนต์ (4,808 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 81 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.98 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.53 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.71 ล้านตัน (ร้อยละ 5.72 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคา
มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.42 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.44 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.82  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.71 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.77 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.81
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.60 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.85 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.68
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,194 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 225 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,365 บาทต่อตัน)  ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.22
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,795 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,974 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.02
 
 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.450 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.246 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.325 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.225 ล้านตัน ของเดือนตุลาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 9.43  และร้อยละ 9.33  ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.50 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.70 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.41                                               
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 15.65 บาท ลดลงจาก กก.ละ 16.55 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.44        
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 1,960 ริงกิตต่อตัน (467.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 1.3 และปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียชะลอตัวลง ลดลงร้อยละ 10.9 สำหรับในช่วง 20 วันแรกของเดือนพฤศจิกายน 2561การส่งออกลดลงร้อยละ 3.2 อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงเวลาอีกสองเดือนข้างหน้าผลผลิตปาล์มน้ำมันจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สต็อกน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นและประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญชะลอการนำเข้าเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว และราคาน้ำมันปาล์มดิบอาจปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 1,933 – 1.972 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,809.39 ดอลลาร์มาเลเซีย  (14.43 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,910.41 ดอลลาร์มาเลเซีย  (15.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.29
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 457.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (15.14 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 462.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (15.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.08                             
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 
 


อ้อยและน้ำตาล 
 
1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
ไม่มีรายงาน       

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
 
          คาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลของอินเดีย
          The Western India Sugar Mills Association คาดว่าในปี 2561/2562 อินเดียจะผลิตน้ำตาล   ได้ 30.00 ล้านตัน (มูลค่าน้ำตาลทรายขาว) ลดลงจาก 32.40 ล้านตัน ของประมาณการครั้งก่อน และ 32.50 ล้านตัน ที่ผลิตได้ในปี2560/61 เนื่องจากผลผลิตอ้อยได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งและการระบาดของด้วงขาว (white grup)




 
 

 
ถั่วเหลือง

 

 
ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 37.67 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.58 บาท ลดลงจาก 38.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.92 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.39 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.08 บาท ลดลงจาก 38.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.92 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.42
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.54 บาท ลดลงจาก 37.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.91 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.43
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.65 บาท ลดลงจาก 18.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.01 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.41
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.75 บาท ลดลงจาก 15.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.89 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.69
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.79 บาท ลดลงจาก 32.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.03 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.14
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนธันวาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.61 บาท ลดลงจาก 45.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.52
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.46 บาท ลดลงจาก 44.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.54
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.39 บาท ลดลงจาก 41.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.73 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.78
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.84 บาท ลดลงจาก 31.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.99 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.11
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.36 บาท ลดลงจาก 45.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.53
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.21 บาท ลดลงจาก 44.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.54
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.14 บาท ลดลงจาก 40.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.73 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.79
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.59 บาท ลดลงจาก 31.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.99 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.13
 
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.60 เซนต์สหรัฐฯ (43.69 บาท) ลดลงจาก 136.00 เซนต์สหรัฐฯ (44.52 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.40 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 1.76
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.74 เยน (39.27 บาท) ลดลงจาก 141.92 เยน (40.46 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 5.18 เยน หรือลดลงร้อยละ 3.65


 

 
สับปะรด
 

 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                                                                                                                                                                                                                                                            
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.90 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 24.65 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 11.16
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 793.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 792.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 701.20 ดอลลาร์สหรัฐ (22.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 700.60 ดอลลาร์สหรัฐ (22.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 578.00 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 577.80 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 424.40 ดอลลาร์สหรัฐ (13.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 424.20 ดอลลาร์สหรัฐ (13.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 787.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.75 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 786.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.75 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.59
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.18
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 75.95 เซนต์(กิโลกรัมละ 55.47 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 76.59 เซนต์ (กิโลกรัมละ 55.99 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.52 บาท

 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,683 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,676 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 0.42
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,239 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 6.77
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 838 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 


ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงเล็กน้อยเอื้ออำนวยให้สุกรเจริญเติบโตดี ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ในระดับปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  59.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.25 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.36  บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.56 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคมีไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.72 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 30.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 32.96 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.98 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ภาวะตลาดไขไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา   เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงเล็กน้อย ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากกว่าช่วงที่ผ่านมา  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  268 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 270 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 292 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 276 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 258 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 281 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 324 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 325 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 299 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.05 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.22 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.41 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.60 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 


 
ประมง
 
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 16 – 22 พฤศจิกายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.50 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.25
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.23 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย     จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 137.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.32 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.59 บาท   ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท           ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 – 22 พ.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 28.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท